• ....... ทรงเป็นราชโอรสของกษัตริย์เมืองเสรียง(เมืองชเลียง คือ สวรรคโลก ในปัจจุบัน) มีฐานะเป็นพระราชนัดดา(หลาน) ของกมรเตงอัญสุริยผาเมือง(พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ผู้สถาปนาราชวงศ์สุโขทัย) ทรงสำเร็จวิชาโสฬสจากคัมภีร์มหาจักรพรรดิราชฯ ตั้งแต่ครั้งยังเป็นฆาราวาส อันเป็นราชประเพณีของกษัตริย์อาทิตย์วงศ์ จึงทำให้พระองค์ชำนะศึกทั้งปวงทั่วทุกทิศ แต่หลังจากที่ทรงได้ฟังพระธรรมเทศนา เกิดความสมเพชมนุษย์ที่ต้องตายในสงคราม ให้เอาอาวุธมาทำลายทิ้ง นำพระราชทรัพย์ออกแจกจ่าย แล้วออกผนวช เดินธุดงค์ไปยังชมพูทวีปเกาะสิงหฬ เพื่อนำพระอภิธรรมกลับมาเผยแผ่ในสุวรรณภูมิ เริ่มที่วัดป่ามะม่วงเมืองสุโขทัยเป็น มีตำแหน่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของกรุงสุโขทัยได้ทรงถ่ายทอดวิชชาในคัมภีร์เป็นการภายในแก่พระราชวงศ์ ศิษย์ของท่านคือ กมรเต็งอัญสรีสุริยพงรามลิไท ฝ่ายบรรพชิตคือ พระสุเมธังกร ได้ไปเผยแผ่ที่อาณาจักรล้านนา ได้รับการแต่งตั้งเป็นสังฆราชองค์แรกของล้านนา

    ทรงออกผนวช ถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา

    สมเด็จพระสรีสัทธาฯ ทรงสำเร็จวิชาโสฬสจากคัมภีร์มหาจักรพรรดิราชฯ ตั้งแต่ครั้งยังเป็นฆาราวาส อันเป็นราชประเพณีของกษัตริย์วงศ์สุริยะ(อาทิตย์วงศ์) จึงทำให้พระองค์ทรงชำนะศึกทั้งปวงทั่วทุกทิศ แต่หลังจากที่ทรงได้ฟังพระธรรมเทศนา เกิดความสมเพชชีวิตมนุษย์ที่ต้องตายเพราะสงคราม ทรงเห็นโทษแห่งการครองเรือน จึงทรงยกพระราชชายา และพระราชธิดาให้กับมิตรกษัตริย์ ทั้งทรงให้เอาอาวุธมาทำลายทิ้ง นำเอาพระราชทรัพย์ออกแจกจ่าย แล้วออกผนวช เดินธุดงค์ไปยังชมพูทวีป, เกาะสิงหฬ เพื่อนำพระอภิธรรมกลับมาเผยแผ่ในสุวรรณภูมิ โดยเริ่มที่วัดป่ามะม่วงเมืองสุโขทัยเป็นครั้งแรก ทรงดำรงค์ตำแหน่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของกรุงสุโขทัย

    จารึกหลักนี้ เป็นคำสรรเสริญสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุณี ศรีรัตนลังกาทีปมหาสามีเป็นเจ้า ซึ่งเป็นบุตรของพระยาคำแหง (พระราม) เป็นหลานของพ่อขุนผาเมือง แต่ผู้แต่งจารึกหลักนี้ เห็นจะไม่ใช่พระมหาเถรนั้น เป็นผู้อื่น ผู้ใช้คำว่า “กู” ในด้านที่ 2 ตั้งแต่บรรทัดที่ 45 ไป แต่ผู้แต่งนั้นจะชื่ออะไรไม่ปรากฏ บางทีจะได้ออกชื่อไว้ในตอนต้นของจารึกหลักนี้แล้ว แต่ตอนต้นชำรุดเสียหมดอ่านไม่ได้ คำจารึกหลักนี้แบ่งออกเป็นหลายตอน คือ ตอนที่ 1 (ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 ถึง 7) ชำรุดมาก แต่เข้าใจว่าเป็นคำนำมีชื่อพระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ตอนที่ 2 (ตั้งแต่บรรทัดที่ 8 ถึง 20) เป็นประวัติของพ่อขุนศรีนาวนำถม ตอนที่ 3 (ตั้งแต่บรรทัดที่ 21 ถึง 41) เป็นเรื่องพ่อขุนผาเมืองตั้งราชวงศ์สุโขทัยและเรื่องราชวงศ์สุโขทัย ตอนที่ 4 (ตั้งแต่บรรทัดที่ 41 ถึง 52) เป็นคำสรรเสริญพระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ตอนที่ 5 (ตั้งแต่บรรทัดที่ 53 ถึง 61) เป็นเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ในการเสี่ยงพระบารมี โดยวิธีอธิษฐานต่างๆของพระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ตอนที่ 6 (ตั้งแต่บรรทัดที่ 61 ถึง ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 5) ในตอนนี้เป็นประวัติของสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาฯ เมื่อยังอยู่ในคิหิเพศ แบ่งออกเป็นสามพลความคือ ก.(ตั้งแต่บรรทัดที่ 61 ถึง 75) เป็นเรื่องเจ้าศรีศรัทธาฯ ทรงทำยุทธหัตถี (ชนช้าง) กับขุนจัง ข. (ตั้งแต่บรรทัดที่ 76 ถึง 79) เป็นเรื่องประวัติเมื่อเจ้าศรีศรัทธาฯ ทรงเจริญวัยเป็นหนุ่ม ค. (ตั้งแต่บรรทัดที่ 79 ถึงด้านที่ 2 บรรทัดที่ 5) เป็นเรื่องเจ้าศรีศรัทธาฯ ได้ทรงศึกษาศิลปวิทยาต่างๆ แล้ว และทรงเบื่อหน่ายในฆราวาสวิสัย แลมีศรัทธาเลื่อมใสออกผนวชในพระพุทธศาสนา ตอนที่ 7 (ตั้งแต่ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 6 ถึง 19) เล่าเรื่องมหาเถรศรีศรัทธาฯ ได้บำเพ็ญการกุศลแลสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ตอนที่ 8 (ตั้งแต่บรรทัดที่ 20 ถึง 48) เป็นเรื่องพระมหาเถรได้ปฏิสังขรณ์วัดมหาธาตุเมืองสุโขทัย ตอนที่ 9 (ตั้งแต่บรรทัดที่ 49 ถึงบรรทัดสุดท้าย) เป็นเรื่องแสดงปาฏิหาริย์ของพระธาตุต่างๆ ในเมืองสุโขทัย ....ปัจจุบันศิลาจารึกนี้ถูกเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดวชิรญาณ กทม.

    CR ::: คณะผู้รวบรวม/เรียบเรียง/บรรยาย/อุปถัมภ์ และจัดสร้างสรรพสาระประวัติศาสตร์ไท เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาสำหรับอนุชนรุ่นหลัง ให้บังเกิดความความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ และ บรรพบุรุษไท