• ....... จุดประสงค์ในการสร้างภาคส่วนข้อมูลนี้ขึ้น ก็เพื่อให้ศิษย์รัตตัญญุศาสตร์ทั้งหลาย ได้มีความภาคภูมิใจในบูรพาจารย์ ที่ได้ถ่ายทอดสืบสานวิชชา และ พุทธาคม ต่อเนื่องมาแต่สมเด็จพระมหาเถรสรีสัทธา ราชจุฬามุนีรัตนลังกาทีปมหาสามี องค์ปฐมสังฆราชเจ้าแห่งกรุงสุโขไท ณ วัดฤาษีชุม หรือ วัดป่ามะม่วง ทรงถ่ายทอดวิชชา 18 ประการ และคัมภีร์มหาจักพรรดิราช รัตตัญญุศาสตร์ ให้กับพญาลิไท จนสามารถรอบรู้วิทยาการ อณาจักรขอมได้ถวายพระยศให้พระญาลิไทเป็น "กมรเตงอัญศรีสุริยพงรามลิไท" พระองค์ได้จัดตั้งสถานีตรวจอากาศเป็นแห่งแรกในโลก เพื่อใช้วิชชารัตตัญญุศาสตร์คำนวณฟ้าฝน เรียกว่า "เกณพิรุณศาสตร์" ทำให้กรุงสุโขไท เจริญก้าวหน้า มีอาณาเขตกว้างไกล ไพร่ฟ้าหน้าใส ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ประชาชนล้วนมีใจเมตตาอารีมีศีลธรรม ศิษย์สายบรรพชิตของสมเด็จพระมหาเถรสรีสัทธา ได้รับอาราธนาจากพระเจ้าติโลกราช แห่งอาณาจักรล้านนา ให้ขึ้นไปเผยแผ่โดยได้ถวายพระราชอุทธยานเป็นพุทธสถานชื่อว่า "วัดสวนดอก" ศิษย์ของพระมหาเถรสรีสัทธาที่ส่งขึ้นไปนั้นมีนามว่า "พระสุเมธังกร" ได้รับการสถาปนาจากพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์แห่งล้านนา ให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จสังฆราชล้านนา ศิษย์ของพระสุเมธังกรได้แต่งตำรา "ชินกาลบาลีปกรณ์ และ จันทรทีปนี ฯลฯ เพื่อใช้ประกอบการศึกษารัตตัญญุศาสตร์ และ พุทธาคมแก่ศิษย์บรรพชิตในล้านนาสืบมา

    ต่อมาในยุคสมัยของพระมหาธรรมราชา ราชวงศ์พระร่วง ได้ขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระมหากษัติรย์กรุงศรีอยุธยา จึงได้อาราธนาพระอาจารย์ศรี อธิบดีสงฆ์จากวัดป่ามะม่วง กรุงสุโขไท ให้มาจำพรรษา ณ วัดประดู่โรงธรรม เพื่อเผยแผ่พระอภิธรรม และ แนวทางปฏิบัติ "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" ดั่งเช่นกรุงสุโขไท ให้แก่ชาวกรุงศรีอยุธยา ต่อมาสาธุชนที่ได้เข้าวัดฟังธรรมเกิดศรัทธาจึงพากันปลูกต้นแก้วไว้รอบวัด จึงได้ชื่อเรียกขานใหม่เป็น "วัดป่าแก้ว" นับแต่นั้นมา

    .... จวบจนถึงสมัยแห่งองค์สมเด็จพระนเรศวร ทรงประกาศอิสระภาพไม่ขึ้นกับมอญหงสาวดี ในการศึกไทกับ หงสาวดี พระอาจารย์ศรีได้เป็นผู้วางฤกษ์ยามในการเคลื่อนทัพ ทำให้กองทัพกรุงศรีอยุธยามีชัยชำนะศึกยุทธหัตถีย์ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเสด็จกลับมายังกรุงศรีอยุธยาได้ถวายสมณะศักดิ์แด่พระอาจารย์ศรี เป็น สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว (ซึ่งในยุครัตนโกสินทร์ ภิกษุมอญชื่อว่ามหาซาย ได้ปลอมแปลง ประวัติศาสตร์ไท ชื่อว่า จุลกาลยุทธวงศ์ โดยแต่งเรื่องขึ้นมาใหม่ว่า สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว ชื่อ มหาเถรคันฉ่อง เป็นมอญเมืองแครง ซึ่งเป็นความเท็จ และยัดเยียดให้เยาวชนไทยในรัตนโกสินทร์เรียนรู้ ท่องจำ จนลืมเลือนเรื่องจริง)

    ..... ภายหลังเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงชนะสงครามยุทธหัตถีย์ต่อกองทัพหงสาวดีแล้ว พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อ "วัดป่าแก้ว หรือ วัดประดู่โรงธรรม" เป็น วัดไชยวนาราม (ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ได้มีการจัดตั้งกรมศิลปากรขึ้น เพื่อให้มีอำนาจขุดค้นครอบครองพุทธโบราณสถาน และ พุทธศาสนสมบัติ จึงมีการเปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่เป็น "วัดไชยวัฒนาราม" ตัดคำว่า วนา ซึ่งแปลว่า ป่า ออกไป และใช้อยู่ตราบปัจจุบัน)

    .... แผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นช่วงแห่งการเสียสละของปวงชนชาวไท ที่รวมจิตวิญญาณ ชีวิต ร่างกาย มอบเป็นชาติพลี เพื่อสร้างและรักษาแผ่นดินไทนี้ไว้ให้เป็นมรดำแก่ลูกหลานไทรุ่นหลัง ศิษย์รัตตัญญูทั้งฆาราวาส และบรรพชิตแห่งสำนักวัดป่าแก้ว(วัดไขยวนาราม ร่วมกองทัพอย่างคียงบ่าเคียงไหล่ ในส่วนใต้ของไทชนมุสลิมเกิดเป็นกบฏขึ้น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงส่งกองทัพลงไปปราบ ในการนี้สมเด็จพระพนรัตน์ท่านได้ทรงถ่ายทอด "วิชาหมูปราบมาร" โดยสักเป็นรูปหมูที่ไหล่ขวาให้กับทหารกล้าทุกนาย พร้อมกับส่งขรัวครู(ศิษย์บรรพชิต) ติดตามไปเป็นขวัญกำลังใจกับกองทัพจำนวน 6 รูป

    ..... เมื่อเดินทัพไปได้ 5 วัน ถึง ณ เชิงเขาได้ชัยภูมิ มีภูเขาและป่าละเมาะเหมาะสม จึงพักพล นายทัพจึงให้ตัดไม้ซุงเพื่อทำเสาตะลุงมาปักทำคอกช้าง สมัยนั้นใช้คำว่า "ปักตะลุง" ต่อมาจึงได้เพี้ยนเป็น "พัทลุง" ชื่อของจังหวัดจวบจนปัจจุบัน พระคุณเจ้าศิษย์รัตตัญญูสายบรรพชิต ซึ่งติดตามกองทัพไปก็ออกหาที่สัปปายะ พบถ้ำอันเหมาะแก่การพำนักและปฏิบัติธรรม จึงได้ใช้ถ้ำเป็นที่ปักกรด (ปัจจุบันคือ ถ้ำเขาเอาะ หรือ เขาอ้อ) กองทัพได้ปราบมุสลิมกบฏจนสิ้นซากที่เหลือก็ลงเรือหนีตายแล่นออกทะเลไปทางชวา กองทัพกรุงศรีอยุธยาจึงเดินทางกลับ พร้อมด้วยชัยชนะ แต่ศิษย์รัตตัญญูสายบรรพชิต มิได้ติดตามกองทัพกลับมา คงจำพรรษา ประพฤติธรรม ณ ถ้ำเชิงควนเอาะนั้น เพื่อเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แก่ประชาชนไทในแดนใต้สืบมา

    ..... จวบถึงสมัยแห่งพระเอกาทศรศ พระอนุชาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขึ้นเป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินแดนใต้ สามเณรน้อยผู้มีภูมิปัญญาล้ำหน้ากว่าผู้ใดได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ ณ สำนักควนเอาะ จนหมดสิ้นความรู้ทั้งศิลปศาสตร์ พุทธาคม สามเณรน้อยก็สามารถจดจำและปฏิบัติได้ พระอาจารย์ถ้ำควนเอาะจึงตรวจดวงชะตาสามเณรด้วยรัตตัญญุศาสตร์ ก็รู้ว่าในภายภาคหน้าจะเป็นผู้บรรลุธรรมโดยแท้ ควรที่จะส่งเข้าไปศึกษายังกรุงศรีอยุธยา สำนักวัดป่าแก้ว ย่อมจะเปรียบดั่งบันไดแก้วส่งเสริมบุญบารมีแก่สามเณรน้อยนี้ยิ่งขึ้นไป จึงได้พาสามเณรน้อยไปถวายเป็นศิษย์ของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว สั่งสอนถ่ายทอดเวทย์วิทยา พุทธาคม และ คัมภีร์มหาจักพรรดิราช-รัตตัญญุศาสตร์ รวมทั้งแนวทางปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" อัฐารสธาตุ แก่สามเณรน้อย

    ..... กลางสมัยแผ่นดินพระเอกาทศรศ แขกสิงหล ผู้เชี่ยวชาญปรัชญวิทยา ภาษาศาสตร์ ได้ท่องเที่ยวใช้ภูมิปัญญาล่าเมืองขึ้น โดยท้าทายด้วยการโต้วาทีตอบปัญหา ไม่มีเจ้าเมืองใดเอชนะได้กลายเป็นเมืองขึ้นตลอดหัวเมืองติดมหาสมุทร จนบรรลุถึงกรุงศรีอยุธยา จึงท้าประลองปัญญาโดยมีแผ่นดินสยามด้านมหาสมุทรเป็นเดิมพัน ให้เวลา 7 วันต้องหานักปราชญ์ไทมาแข่งขันแก้กลภาษาแขกสิงหลให้ได้ ทางมุขอำมาตราชมนตรีในกรุงศรีอยุธยา ก็จนด้วยปัญญาไม่อาจจะหาใครมาต่อสู้กับแขกสิงหลได้ มหาอำมาตหมดปัญญาจึงไปวัดป่าแก้วเพื่อปรึกษาสมเด็จพระพนรัตน์ ให้ตรวจชะตาบ้านเมืองว่าจะเสียแผ่นดินในครั้งนี้หรือไม่ สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว เมื่อตรวจชะตาเมืองแล้วก็ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ เรียกสามเณรน้อยเมืองใต้ออกมา แล้วบอกแก่กับมหาอำมาตว่า สามเณรของข้านี่แหละจะปราบแขกสิงหลให้หลาบจำ พรุ่งนี้เป็นอันได้รู้กัน...

    ..... รุ่งขึ้นอันเป็นวันสุดท้ายเส้นตายของกำหนดนัด แขกสิงหลกระหยิ่มยิ้มย่อง เดินเข้าท้องพระโรงอันมีสมเด็จพระเอกาทศรศ กษัตริย์กรุงศรีฯ เป็นประธาน เจ้าแขกสิงหลกวาดสายตามองไปทั่วแต่ไม่เห็นมีผู้ใดที่มีลักษณะเด่นเป็นนักปราชญ์ ที่แปลกกว่าทุกคราก็คือสามเณรหนุ่มน้อย นั่งอยู่บนตั่งข้างสมเด็จพระเอกาทศรศ เท่านั้น แต่แล้วสิ่งที่ไม่คาดฝันก็พลันเกิดขึ้นเพราะไม่ว่าเจ้าแขกสิงหลจะถามปริศนาข้อใด เณรหนุ่มก็ตอบแก้ไขได้อย่างฉาดฉานจนแขกหมดปัญญาที่จะหาปริศนามาถามอีกเพราะหมดภูมิ และก็ถึงเพลาสามเณรเมืองใต้ศิษย์วัดประดูโรงธรรมถามแขกสิงหล เพียงคำถามสั้น ๆ คำถามเดียว ว่า ...ทำไม ทุกคนต้องตาย ไม่ตายไม่ได้รึ ? ...โอ่ อีนี่ แขกมึนน่ะนาย...ตอบไม่ได้ ไปไม่เป็น ...ยกมือยอมแพ้ จนปัญญา ที่จะหาคำตอบมาแก้ปริศนาได้ จึงต้องเสียทรัพย์สินและสำเภาพร้อมข้าทาสบริวาร ให้กับกรุงศรีอยุธยา...กลับสิงหลด้วยความอับอาย

    สมเด็จเอกาทศรศ ทรงยินดีปรีดายิ่งที่สามเณรสามารถกอบกู้ศักดิ์ศรีของชาวไทในครั้งนี้ ...ประจวบกับสามเณรอายุครบบวชเป็นภิกษุพอดี จึงทรงเป็นประธานเจ้าภาพรับสามเณรเป็นนาคหลวง โดยมีสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วเป็นพระอุปฌายะ เมื่ออุปสมบทแล้วสมเด็จพระเอากาทศรสได้มีพระบรมราชโองการพระราชทานแต่งตั้งให้ภิกษุใหม่เป็น "สมเด็จพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์"

    ......ภายหลังสิ้นแผ่นดินพระเอกาทศรศ เกิดกบฏบาดหลวงเยซูอิดนำกำลังเข้ายึดกรุงศรีอยุธยา ตั้งตนเป็นกษัตริย์นามว่าพระเจ้าประสาททอง วงศ์วานว่านเครือ ราชวงศ์พระร่วงถูกกวาดล้าง พระสงฆ์องค์เข้าและชาวพุทธถูกย่ำยี สมเด็จพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ ก็อาศัยสำเภากลับลงสู่เมืองใต้บ้านเกิด ระหว่างกลางทะเลอาเพทไร้ลมเรือจอดนิ่งจนหมดน้ำจืด ต้นหนก็ว่าคงเป็นเพราะพระอาศัยมาในเรือจึงทำให้เกิดเหตุเช่นนี้ เราเอาพระภิกษุนี้โยนน้ำเถิด แล้วคงลมพ้ดมาเราก็จะรอด แต่ท่านพระราชมุนีสามีรามฯ ก็ได้กล่าวว่าท่านต้นหนอย่าตกใจไปเลย น้ำทะเลนี้ไม่เค็มหรอก กล่าวแล้วท่านก็เอาเท้าจุ่มลงน้ำ กลาสี ลูกเรือ ต่างก็ลองวักน้ำที่ท่านเหยียบนั้นกิน ด้วยเวทย์วิทยาพุทธานุภาพน้ำนั้นก็จืดสนิท ผู้คนทั้งหลายต่างก้มกราบแทบเท้าท่าน และนี่คือที่มาของคำว่า "เหยียบน้ำทะเลจืด" ท่านได้ขึ้นฝั่งที่เมืองพะโคะ อันเป็นบ้านของท่าน และออกจารึกเผยแผ่สั่งสอนธรรมปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" นับแต่นั้นไม่ได้กลับขึ้นไปยังอยุธยาอีกเลย ท่านเป็นที่เคารพศรัทธาของถิ่นแดนใต้ตลอดศรีวิชัย ถึงสิงหล ในแถบชายทะเลมหาสมุทรจะเรียกท่านว่า "สมเด็จเจ้าพะโคะ"

    ...... ลุถึงแผ่นดินพระเจ้าบรมโกฐ กษัตริย์ไทสายพุทธได้ขึ้นครองราช ทรงปรารภว่าคัมภีร์พิชัยสงครามอันมีมาแต่ครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น ก็ถูกทำลายสูญหายไปในกองเพลิงครั้งเกิดกบฏบาดหลวง ขุนพล ขุนศึกที่เรียนรู้ก็แก่ชรา หากมีศึกมาเราก็จะปราชัย ได้ทราบว่าสมเด็จพระสังฆราชเสด็จมาอยุธยาจึงนำเรื่องไปปรึกษากับ "สมเด็จสังฆราชพากุลมหาเถระ" ซึ่งลงมาแต่เมืองสวางคบุรี มาพำนักอยู่ที่ วัดอโยธยา(วัดเดิม) ซึ่งท่านเชี่ยวชาญในคัมภีร์มหาจักพรรดิราช รัตตัญญุศาสตร์ และ เวทย์วิทยา ซึ่งสมเด็จพระพากุลท่านก็ได้ให้จัดปะรำ ท่านทำพิธีเรียกฝนให้เห็นกันประจักษ์ ท่านนำพระเจ้าบรมโกษฐไปที่ท่าน้ำ แล้วยืมพระแสงอาญาสิทธิฟันตัดลงไปในแม่น้ำ น้ำนั้นก็แยก เป็น 2 ซีกไม่บรรจบกัน ให้ทหารลงไปเดินข้ามฟากไปกลับได้ น้ำนั้นไม่ไหลชนดุจว่ามีกำแพงกั้น เป็นที่อัศจรรย์แก่เสนาอำมาตย์และพระเจ้าบรมโกษฐ์ยิ่ง จึงหมอบกราบด้วยความศรัทธาและขอปาวารณาตัวเป็นศิษย์ สมเด็จพระพากุลฯ
    สมเด็จพระพากุลฯ จึงให้คัดผู้มีดวงชันษามหาอุด มาจารหนังสือลงคัมภีร์ให้ครบไตรภพ คือ 3 คน พอตรวจชะตาชันษาแล้วก็ได้ "นายบุญมา" อันเป็นศิษย์ของพระสุกซึ่งเป็นพระอุปถากย์ที่คอยดูแลปรนนิบัติใกล้ชิดท่านอยู่แล้ว เป็นสองคนแต่ต้องหาให้ครบสาม นายบุญมาจึ่งบอกว่ามีเพื่อนลายมือสวยชื่อ "ตาก" เป็นศิษย์วัดวัดโกษาวาส จะชวนมาช่วยคัดหนังสือถวาย เมื่อนำตัวนายตากมาพบกับสมเด็จพระพากุลฯ พิสูจน์ชันษากล้าแข็งยิ่งนัก จึงให้ทั้งหมดเตรียมตัวเข้าพิธีจารคัมภีร์พิชัยสงคราม

    ......การจารจารึกคัมภีร์พิชัยสงครามต้องครบ ไตรภาคี ซึ่งได้สมบูรณ์ด้วยดิถีนักษัตร มหาฤกษ์ นับตั้งแต่ยามที่ได้เข้าประกอบพิธีสักการะบูรพาจารย์บรรพชน นั้น คือ

    ........ นายบุญมา ๑

    ......... นายตาก ๑

    ......... พระสุก ๑

    ......ทั้ง ๓ สหายได้เข้าพิธีสักการะบูรพาจารย์บรรพชน อันมีพระอัญญาโกทัญญะเป็นเบื้องต้น สมเด็จพระมหาเถรสรีสัทธาฯ แลปวงเทพเทวาทั้งปวง เพื่อคัดคัมภีร์พิชัยสงคราม จากคำบอกของสมเด็จพระพากุลมหาเถระสังราช สำหรับพระสุกนั้นคัดหนังสือในส่วนเรื่องการวางฤกษ์ยามจากคัมภีร์มหาจักพรรดิราช-รัตตัญญุศาสตร์ และเวทย์วิทยาพุทธาคม ส่วนนายสุดจินดา และ นายตาก นั้นคัดทางด้านกลศึกและการรบ ในภายหลังเมื่อเจริญวัย พระเจ้าบรมโกษฐทรงเมตตาตั้งนายบุญมา เป็นตำแหน่งสุจินดาหุ้มแพร ทำหน้ที่เชิญพระขรรค์ติดตามพระองค์ใกล้ชิด และทรงแต่งตั้งให้นายตากเป็นพระยาวชิรปราการครองเมืองตาก สำหรับพระสุกนั้นติดตามปรนนิบัติพระพากุลมหาเถระสมเด็จพระสังฆราชใกล้ชิด

    ....... ลุ ศักราช 2309 กองทัพหงสาวดี กรีฑาทัพใหญ่เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระพากุลมหาเถระ จึงสั่งให้พระสุกนำตระกรุด 3 สายลงมามอบให้ศิษย์ 3 คน คือ
    ตระกรุดสายที่หนึ่ง ให้มอบกับศิษย์ของท่านที่เป็นภิกษุได้ลงอยู่เมืองสิงหฺบุรีนำชาวบ้านต่อต้านกองทัพหงสา ที่หมู่บ้านบางระจัน(เรารู้จักกันในชื่อ พระอาจารย์ธรรมโชติ)
    ตระกรุดสายที่สอง ให้มอบให้พระยาวชิปราการ ทีนำทหารป้องกันกำแพงเมืองกรุงศรีอยุธยา
    ตระกรุดสายที่สาม ให้มอบให้กับนายสุดจินดา หุ้มแพร

    ....... ครั้นถึงสงกรานต์ พุทธศักราช 2310 สุกี้มอญเนรคุณ ซึ่งอาศัยอยู่ขอบนอกเป็นตะพุ่นหญ้าช้าง เข้านอกออกในกำแพงได้กลับไปเป็นสายให้กองทัพหงสาวดี ชี้ช่องลับให้กองทัพมอญบุกเข้าเผาเมือง พระยาวชิรปราการ(พระยาตาก) จึงนำไพร่พล 200 คนใช้วิชาบังหน ออกมาจากกรุงศรีอยุธยา พร้อมด้วยพระสุกที่ได้เดินทางมาหาเพื่อนำตระกรุดสมเด็จพระพากุลมหาเถระมามอบให้ และ ทั้งสามสหายคือ นายสุดจินดา พระยาตาก และ พระสุก ก็คือกำลังหลักในการกอบกู้เอกราชชนชาติไทให้กลับคืนมา โดยพระสุกทำหน้าที่วางฤกษ์ยามตามคัมภีร์มหาจักพรดิราช ให้นำทัพออกศึก พระยาตากและนายสุดจินดา ได้ใช้วิชาค่ายกลในคัมภีร์พิชัยสงคราม รุกไล่อริราชไพรีจนมีชัยชนะ สามารถขับไล่กองทัพหงสาวดีออกจากผืนแผ่นดินไทได้ และก่อตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีในทึ่สุด

    ...... ล่วงเข้าแผ่นดินรัตนโกสินทร์ ซึ่งพี่ชายของนายสุดจินดา ได้ตั้งราชวงศ์จักรี และแต่งตั้งให้นายสุดจินดาเป็น "สมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคล" (ประวัติศาสตร์เรียกว่า พระยาเสือ เพราะดุ) สำหรับพระสุกได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ประจำอยู่ ณ วัดพลับ ท่านได้ทำพุทธคุณตามตำหรับคัมภีร์มหาจักพรรดิราช-รัตตัญญุศาสตร์ สร้างพระผงเช่น สมเด็จวัดพลับ สมเด็จอะระหัง เป็นต้น ศิษย์เอกของท่านมีเพียงหนึ่งเดียวชื่อว่า "โต" ซึ่งภายหลังได้เจริญรอยตามในการสร้างพระผงพุทธคุณจนโด่งดังไปทั่วโลก ที่พุทธศาสนิกชน และคนทั่วไปรู้จักในนามของ "สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังษี" วัดระฆังโฆษิตาราม

    สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสีได้ศึกษาวิชชาทำผงพุทธคุณ ปถมังเวทย์วิทยา คัมภีร์มหาจักพรรดิ์ราช-รัตตัญญุศาสตร์ จากสมเด็จสังฆราชสุก วัดพลับ จึงได้เจริญรอยตามโดยออกจารึกธุดงค์ในป่าเขา เมืองร้างโบราณ เพื่อแสวงหาว่านยา และอาาถรรพ์วัตถุเพื่อมาสัมปยุตเป็นผงพุทธคุณ สร้างเป็นพุทธพิมพ์ ทั้งแบบพิมพ์ เนื้อพระ คงรักษาไว้เฉกเช่นบูรพาจารย์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ไว้เป็นเครื่องพิสูจน์ในพุทธานุภาพ อันเป็นพลังเหนือโลกอันไม่มีวันเสื่อมสูญ ที่พึ่ง ที่ระลึก ที่กำจัดภัย แก่ผู้ที่มี "ศีล-สัจจ์" ได้จริง ย่อมเกิดศรัทธาถึงพร้อมในพุทธานุภาพด้วยโอปกนศรัทธาอย่างไม่สั่นคลอน สู่แนวทางปฏิบัติแห่งอริยมรรถ ต่อไป

    และที่ได้เขียนมานี้ก็เพื่อเป็นเครื่องยืนยัน ด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า เวทย์วิทยาพุทธาคม พระเครื่อง ของขลังในแผ่นดินสยาม ล้านนา ล้านช้าง ล้วนมีต้นกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกัน คือ ปฐมปรมาจารย์ พระมหาเถรสรีสัทธาราชจุฬามุนี รัตนลังกาทีปมหาสามี สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงสุโขไท อันพวกเราเหล่าศิษย์รัตตัญญุ ได้ภาคภูมิใจที่ได้มีศิษย์รัตตัญญู รุ่นปู่ รุ่นทวดบรรพชน ได้ใช้ศิลปวิทยาการที่ได้ศึกษา รักษาแผ่นดินไทยและสรรถวิทยาสืบทอดไว้ให้อนุชนรุ่นเรา ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นอณูอันน้อยนิดที่สานต่ออุดมการณ์ สรรพวิทยา พุทธาคม และสรรพศาสตร์ทั้งปวงของคัมภีร์มหาจักพรรดิราช-รัตตัญญุศาสตร์ ให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทไปตลอดกาลนาน....

    ::::: เริ่มสร้างส่วนนี้ขึ้นเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔ ........ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔ :::::


    CR ::: คณะผู้รวบรวม/เรียบเรียง/บรรยาย/อุปถัมภ์ และจัดสร้างสรรพสาระประวัติศาสตร์ไท เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาสำหรับอนุชนรุ่นหลัง ให้บังเกิดความความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ และ บรรพบุรุษไท

  • Suk-Tak.png