• บทที่ 1 อาณาจักรศรีสุวรภูมิ


    การเรียนรู้ศีกษาในสิ่งใดๆ ก็ตาม สิ่งแรกที่สุดคือจะต้องรู้ที่มา แหล่งกำเนิดสิ่งนั้นๆ เสียก่อน เพื่อให้รู้อย่างลึกซึ้ง และเข้าใจกระจ่าง ที่จะสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางค้นคว้าให้กว้างขวางได้ในอนาคต การค้นคว้าประวัติศาสตร์โบราณ แหล่งความรู้ประวัติศาสตร์ ที่สมบูรณ์ที่สุดและถูกต้องที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในโลกก็คือ “พระไตรปิฎก คัมภีร์ของพระพุทธศาสนา” ซึ่งจะรายละเอียดทุกชนิดของสังคมยุคโบราณนับเป็นแสนปีปรากฎอยู่ในชาดกต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในพระสุตันปิฎก ซึ่งจะกล่าวถึงอาณาจักรและนครโบราณ ซึ่งบางแห่งก็สูญหายไปจากโลกแล้ว สำหรับ “อาณาจักรศรีสุวรภูมิ” และแว่นแคว้นนคร ในยุคบรรพกลนั้น มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกบาลี เช่น

    ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิเทส

    “เมื่อแสวงหาโภคทรัพย์ ย่อมแล่นไปสูมหาสุมทรด้วยเรือ .. ไปสุวรรณภูมิ” (ปรโต สโมหิโต สมนฺนาคโต โภเค ปริเยสนฺโต นาวาย …สุวณฺณภูมึ คจฺฉติ)

    และในพระสุตตันตปิฎก ขุทกนิกาย พุทธวงศ์ ความว่า

    “ ก็พระนครที่ประสูติของกกุสันธพุทธเจ้านั้นมีชื่อว่า “นครเขมรัฐ”(เชียงตุง) พระบิดามีพระนามว่าอัคคิทัต..”

    และในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย ความว่า

    “..ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้านั้น ดินแดนสุวรภูมิ เป็นที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นที่พระทับของพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ ได้เสด็จมาประทับแล้วในการนี้ พระกัสสปะได้เสด็จประทับแล้วในกาลนี้ พระโคดมพุทธเจ้าก็ได้เสด็จมาประทับอีก ๑”

    ดังตัวอย่างดังกล่าวนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า “อาณาจักรศรีสุวรภูมิ” ซึ่งในพระไตรปิฎกเรียกว่า “สุวรภูมิ” และนครต่างๆ นั้น “มีอยู่จริง” และมีมานานแล้วก่อนสมัยพุทธกาล หากเทียบตามจำนวนปีของศาสนาของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ก็สามารถจะประมาณได้ถึงความเก่าแก่แห่งอาณาจักรศรีสุวรภูมิได้ ดังนี้

    ๑. ยุคศาสนาพระกกุสันธะพุทธเจ้ามีอายุ ๕๐๐,๐๐๐ ปี

    ๒. ยุคศาสนาพระโกนาคมนะพุทธเจ้ามีอายุ ๓๐,๐๐๐ ปี

    ๓. ยุคศาสนาพระกัสสปพุทธเจ้ามีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี

    ๔. ยุคศาสนาพระโคตมะพุทธเจ้าถึงปัจจุบัน ๒๕๔๖ ปี

    เมื่อนำเอาจำนวนปีของยุคศาสนาหมายเลข๑ ถึงหมายเลข๔ (ปี๒๕๔๖) รวมกันจะได้ เท่ากับ๕๒๒,๕๔๖ปี(ห้าแสนห้าหมื่นสองพันห้าร้อยสี่สิบหกปี) นี่คือความเก่าแก่โดยประมาณของอาณาจักรศรีสุวรภูมิ หรือ สุวรภูมิ ซึ่งปรากฎยืนยันอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎก อันได้รับการตรวจ สอบความถูกต้องทุกตัวอักษรโดยการสังคายนา รับรองโดยพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญาแล้วทั้งสิ้น จึงเชื่อมั่นได้ว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด ในโลกยุคปัจจุบัน
    หลักฐานจากพระไตรปิฏกบาลี เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับหลักฐานของมานุษยวิทยาปัจจุบันกลับลงตัวอย่างเหมาะเจาะ คือ มนุษยวิทยาได้แบ่งยุคของมนุษย์ไว้เป็น ๕ ยุค คือ

    ก. สมัยหินเก่า ระหว่าง ๕๐๐,๐๐๐ ถึง ๑๐,๐๐๐ ปี

    ข. สมัยกลาง ระหว่าง ๑๐,๐๐๐ ปี ถึง ๘,๓๕๐ ปี

    ค. สมัยใหม่ ระหว่าง ๘,๙๐๐ ถึง ๒,๐๐๐ ปี

    ง. ยุคโลหะ(ยุคก่อนประวัติศาสตร์) ระหว่างต้น ๒,๕๐๐๐ ปี ถึงปลาย ๒,๑๐๐ ปี

    จ. ยุคสมัยประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ ๒,๑๐๐ ปีลงมา

    ข้อมูลในพระไตรปิฎกดังกล่าวนั้นเป็นระยะก่อนประวัติศาสตร์มาก จึงจำเป็นต้องค้นหาต่อไปว่า ในยุคที่ใกล้เคียงกันนั้นมีกล่าวถึงหรือเกี่ยวข้องเรื่องของสุวรภูมิไว้ที่ใดอีกบ้าง พบว่ามีปรากฎอยู่ในคัมภีร์ปฐมกัปป์ผูกที่ ๑ ว่า

    “..กปฺปวินาสเก ขารุทกมหาเมโฆ วุฎฺฐาย โส อาทิโต สุขุมํ วสฺสนฺโต

    อนุกฺกเมน ตาลกฺขนฺธาทิปมานาหิ มหาธาราหิ โกฎิสตสหสฺสจกฺกวาฬานิ ปูเรนฺโต วสฺสติ ขารุทเกน ผุฎฺฐา ปถวิรุกฺขปพฺพตา

    เมื่อสมัยกาลน้ำท่วม โลกนั้นมิได้หมายความว่าได้ท่วมไปทั้งหมดทุกแห่งก็หาไม่ เหลือแคว้นเมืองใหญ่ อยู่เป็นบางแห่ง ภายหลังเมื่อน้ำแห้งจึงเกิดเป็นเขาพระสุเมรุราช(หิมาลัย) โลกก็แบ่งเป็น ๔ ทวีปนับ แต่เบื้องเขาพระสุเมรุราชไปเบื้องตะวันตกคือ อโคยานทวีป เบื้องใต้คือชมพูทวีป เบื้องเหนือคืออุตรกุรุทวีป เบื้องตะวันออก คือบุพพวิเทหทวีป…ชนรักษาศีลปฏิบัติธรรมตามถ้ำ เขาหลวง จึงเหลือรอดชีวิตจากมหาอุทกภัยอยู่ในบุพพวิเทหทวีปนี้พร้อม จัดประชุมกัน เห็นว่ามีเหลืออยู่มากมาย จึงกล่าวว่า เราเหลือรอดชีวิตได้เห็นแสงตะวันอีกครั้ง เราจงเรียกขานพวกเราว่า ฬวทยฺย เถิด(อ่านว่า ละวะมาจาก คำว่า RA - รวี แปลว่า ดวงอาทิตย์, ตะวัน) คำว่า “ไทยยะ” แปลว่า พ้นภัย, อิสระ ซึ่งรวมคำทั้งสองคือ ลวไทยยะ จะได้ความหมายว่า“รอดพ้นได้เห็นแสงตะวัน” แลชนทั้งหลายที่รอดพ้นจากน้ำท่วมก็พากันสร้างบ้านแหลเมืองอยู่ ณ กึ่งกลางบุพพวิเทหทวีปอันชนสบด้วยทะเลทั้งออกแลตก รุ่งเรืองสืบนามว่า สุวรรณภูมิ..” (คำว่า ไทย หรือ ทยฺย ที่มีความหมายว่า อิสระ กลายเป็นคำที่ใช้เรียกชนเผ่าไทตลอดมา ตราบจนถึงปัจจุบันนั้น ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ สำหรับคำว่า อาฬว, อาฬวี ปรากฏในพระไตรปิฏกคัมภีร์พุทธศาสนา และปรากฏในประวัติศาสตร์และตำนานไทเหนือ เรียกว่า อ้ายลาว เป็นอาธิ)

    เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาทั้ง ๒ ชนิด คือทางพุทธศาสนากับมานุษยวิทยา จะเห็นได้ว่าตรงกันในสมัยของพระกัสสปพุทธเจ้าจะครอบคลุมตั้งแต่ยุคหินเก่า มาจนถึงตอนปลายของยุคหินใหม่ จึงมีทางเป็นไปได้เพราะมีมนุษย์เกิดขึ้นและพัฒนาการเป็นขั้นตอนแล้ว จะเห็นว่ายุคศาสนาแต่ละศาสนามีอายุเวลาไม่สม่ำเสมอกัน

    ปัจจุบันนี้มนุษย์เราอยู่ในยุคที่ ๔ ซึ่งมีอายุ ๕,๐๐๐ ปีขณะนี้ล่วงเลยมาแล้ว ๒๕๔๖ ปี ถ้าคิดรวมเวลาที่พระพุทะเจ้าสมณโคดมมีพระชนม์ชีพอีก ๘๐ ปี จะเป็นเวลา ๒,๖๒๖ ปี เหนือขึ้นไปเป็นศาสนาพระกัสสปะพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นยุคที่ ๓ ซึ่งเป็นยุคที่มีเวลา ๓๐,๐๐๐ ปี คิดรวมถึงเวลานี้จะได้ ๓๒,๖๒๖ ปี ซึ่งมนุษย์จะต้องได้รับการพัฒนามาแลเป็นอย่างเป็นขั้นตอนแล้ว และหากคำนวณระยะเวลาช่วงระหว่างสิ้นยุคพระพุทธเจ้ากัสสปะ ถึงเริ่มสมัยพุทธกาลพระโคดมพุทธเจ้าจะได้ระยะเวลา ๔,๐๐๐ ปี จากการสำรวจทางภูมิศาสตร์และธรณีวิทยา พบว่าบริเวณที่เป็นบุพพวิเทหทวีป ในยุคก่อนพุทธกาลหรือประมาณ ๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว ทะเลด้านอ่าวไทยนั้นไม่ได้มีอาณาเขตเหมือนกับในปัจจุบัน แต่ท้องทะเลยุคนั้นได้กินเนื้อที่ลึกเข้ามาในผืนแผ่นดินปัจจุบันโดยสรุป ดังนี้ คือ ทิศเหนือ จดจังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ เพชรบูรณ์

    ทิศตะวันออก จดจังหวัดนครราชสีมา กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี ชลบุรี

    ทิศตะวันตก จดจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี นครปฐม

    ทิศใต้ ออกอ่าวไทยที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


    ในยุคสมัยดังกล่าวนี้ส่วนที่เป็นทิศเหนือและทิศตะวันออกนั้น เป็นทะเลที่เกือบจะแยกตัวออกจากอ่าวไทย เพราะจะต้องผ่านเข้าช่องแคบเข้าสู่ทะเลน้อยนั้น ก็ต้องผ่านเกาะใหญ่ที่ขวางทางเข้าสูทะเลน้อยอยู่คล้ายปราการ(คล้ายกับเกาะพระสมุทรเจดีย์ ปากน้ำ สมุทรปราการ ปัจจุบัน) ซึ่งเป็นที่ตั้งของอยุทธยาในสมัยต่อมา

    จากนั้นจึงจะสามารถเดินเรือเข้าสู่ เมืองลวรัฐ (ลโวทยฺย) หรือจังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเมืองใกล้ทะเลเหลือหลักฐานของทะเลเดิมไว้คือ ทะเลชุบศรในปัจจุบันทะเลน้อยนี้จะกินพื้นที่เหนือขึ้นจดที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นที่รวมของแคว้นทั้ง ๔ คือปิง วัง ยม น่าน จะไหลออกสู่ทะเลที่ปากน้ำโผล่ หรือปากน้ำโพ ในปัจจุบัน ยังคงเหลือบึงบระเพ็ด ไว้เป็นหลักฐานของทะเลเดิมให้ได้เห็นอยู่ทางด้านตะวันออกจัดเป็นช่วงทะเลลึก (ก้นทะเลของทะเลน้อย ทำให้น้ำส่วนนี้เค็มจัด เมื่อผ่านยุคไประยะหนึ่งเมื่อแผ่นดินขยายตัว จึงได้มีมากรทำเหมืองเกลือกัน อย่างเห็นล่ำเป็นสัน ปรากฎหลักฐานทางโบราณคดีว่าได้มีการทำเหมืองเกลือในพื้นที่ดังกล่าวนั้นตั้งแต่ยุคโบราณ

Series

    © Copyright © 2556. Rustanyou.info all rights reserved